top of page

กฏหน่วยงานตํารวจ

1.เจ้าหน้าที่ต้องใช้ถ้อยคําที่สุภาพไม่หยาบคายต่อประชาชน
2.เจ้าหน้าที่ต้องมีระเบียบวินัยเเละเชื่อฟังผู้ที่มียศสูงกว่า
3.มีความอดทนสูง รับเเรงกดดันไหว ควบคุมอารมณ์ของตัวเองเป็นไม่ร้อน
4.เจ้าหน้าที่ต้องยุติธรรมเเละทําตัวเป็นกลางเสมอห้ามเข้าข้างฝ่าใดฝ่ายหนึ่งโดยเด็ดขาด
5.เข้าทํางานต้องเข้าวอทุกครั้งที่ทํางาน เพื่อประสานงานกับเพื่อนร่วมงานตลอด
6.เจ้าหน้าทีตํารวจไม่สามารถทํางานดําได้โดยเด็ดขาด!
7.ตํารวจต้องไม่สร้างความวุ่นวายหรือสร้างปัญหาต่างๆ ร่วมไปถึงผิดวินัย
8.ในการเข้าค้นพื้นที่สุ่มเสี่ยงตํารวจต้องเปิดไซเรนก่อนทุกครั้ง
9.การตรวจสอบหลักฐานให้ใช้ภาพ มุมมองบุคคลที่ 1 และ ภาพถ่ายจากโทรศัพท์เท่านั้น
10.มีความรับผิดชอบปฏิบัติตามคําสั่งที่ได้รับมอบหมาย
11.การเป็นหน่วยงานตํารวจอย่างน้อยต้องเป็น 30 วัน ถึงจะออกหน่วยงานได้ (กรณีออกก่อนจะถูกปรับเงิน 100,000บาท + โดนรีตัว)
12.เจ้าหน้าที่ตํารวจต้องตัดสินใจด้วยเหตุผล ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวหรืออารมณ์ของตัวเอง การทําคดีหรือตรวจค้นจะต้องเเจ้งชื่อเจ้าหน้าที่ให้ผู้ต้องหาทราบเสมอ
13.หากเจอประชาชนถูกทําร้ายควรเข้าไปช่วยเหลือเเละระงับเหตุโดยด่วน


หมายเรียก /หมายจับ
หมายเรียก : หากผู้ต้องหาก่อคดีใดๆ ไม่ว่าจะเป็นคดีทําร้ายร่างกาย หรือหลบหนีการจับกุม รวมไปถึง มีของกลางในรถ ตํารวจสามารถออกหมายเรียกตัวผู้ต้องหา เพื่อมาสอบสวนที่ สน.
หมายเรียก : จะมีระยะเวลา 10 นาที ออกหมายเรียกจํานวน 3 ครั่ง หาก ไม่ยอมมารายงานตัวที่ สน. จะออกเป็นหมายจับต่อไป
หมายจับ : จะมีระยะเวลา 2 ชม. หากพบเห็นหรือพบเจอที่ใด สามารถจับกุมได้ทันที โดยจะมีคดีความเดิม รวมไปถึงโทษหลบหนีการจับกุมด้วย


การจับผู้ต้องหาในนํ้า
1.การใช้การอุ้ม/ใส่กุญเเจมือ เพื่อจับกุมผู้ต้องหาขณะทําการว่ายนํ้า
2.หากมีการสลบระหว่างจับกุมในนํ้าทางเจ้าหน้าที่ตํารวจจะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น



การเข้าจับกุม
1. รถยนต์ประเภท 4 ล้อ  เจ้าหน้าที่ตำรวจ จะมีทั้งหมด 4 มาตรการ 
  • มาตรการที่ 1  

    • ตำรวจจะทำการแจ้งเตือนให้ ผู้ต้องหาหยุด และยอมมอบตัว ภายในระยะเวลา 3 วิ หากยอมมอบตัว จะมีการลดโทษให้  

  • มาตรการที่ 2  

    • ตำรวจจะเริ่มทำการยิงล้อรถ ผู้ต้องหา  เมื่อผู้ต้องหาล้อรถแตกครบจำนวน 4 ล้อ 

    • ตำรวจสามารถ เบียดหรือบั้มได้ ในกรณีที่ล้อแตก 4 ล้อ

  • มาตรการที่ 3  

    • หากผู้ต้องหาไม่ยอมลงจากรถ ตำรวจ มีสิทธิ์เข้าบล็อครถ 

หากผู้ต้องหา เลือกไม่ยอมลงจากรถ ตำรวจต้องใช้มาตรการที่ 3 คือบล็อค และ ใช้ปืนเทเซอร์ ยิงตัว ให้ร่วงลงมาจากรถ และทำการจับกุม

****กรณีผู้ต้องหาวิ่งหนี (รถพัง) ตำรวจจะต้องวิ่งไล่ตาม สามารถขอกำลังเสริมได้ ให้กำลังเสริม จอดรถ ห่าง ๆ แล้ววิ่งมาช่วยจับกุม

 

 

การไล่ล่า

รถยนตร์  

  1. เมื่อผู้กระทำผิดกฏหมาย ขึ้นรถตำรวจจะยังไม่สามารถยิง รถ หรือ ล้อรถ ได้เพราะมีกฎนับ 3 วินาที เพื่อให้ผู้กระทำผิดกฎหมายได้หนี หรือ ถ้าผู้กระทำผิดกฎหมายยอมจำนน ก็แล้วแต่ดุลพินิจของตำรวจที่ทำคดีนั้นอยู่

  2. การไล่ล่าจะเริ่มขึ้นก็ต่อเมื่อ ผู้กระทำความผิดขึ้นรถ และจะทำการนับ 3 วินาทีก่อนจะทำการยิง  Taser

  3. การไล่รถของผู้กระทำผิดกฏหมาย รถยนต์ของผู้กระทำผิดกฏหมายหนึ่งคัน ตำรวจสามารถไล่ได้สูงสุดสามคันรถ ถ้ารถของผู้กระทำผิดกฏหมายเป็นรถที่ นั่งได้หลายคนและมีคนบนรถหลายคน ก็ไม่อนุญาตให้มีการเพิ่มรถหรือขอกำลังเสริมเพราะ รถผู้กระทำผิดกฎหมายหนึ่งคันตำรวจสามารถไล่ได้สามคัน

  4. แต่ถ้าตำรวจสามารถจับผู้กระทำผิดกฏหมาย(วิ่งหนี/ลงรถ)ได้แต่เกินกว่ากำลังของตนเอง สามารถเรียกกำลังเสริมเพื่อมาช่วยจับได้ เช่น ผู้กระทำผิดกฏหมายมีห้าคน ตำรวจที่รับคดีไล่จับไม่ไหวสามารถขอกำลังเสริมได้ เพราะที่ไล่คือคน บุคคลไม่ใช่รถ

ไล่หลุด/หลุดคดี คือ ผู้กระทำผิดกฏหมายต้องหลุดจากสายตาของตำรวจทุกนายเป็นเวลา 10 นาทีเท่านั้น ถึงจะถือว่าหลุดคดี

วงเคอร์ฟิว

  • วงเคอร์ฟิว คือ วงกลมสีแดงขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นให้ได้เห็นอย่างชัดเจน 

  • เมื่อตำรวจประกาศวงเคอร์ฟิวประชาชนจะต้องออกจากพื้นที่โดยด่วน

  • เมื่อตำรวจพบประชาชนในวงเคอร์ฟิวตำรวจสามารถขอค้นตัวได้ทันทีและประชาชนไม่มีสิทธิ์ปฎิเสธการขอค้นตัวในวงเคอร์ฟิว

  • วงเคอร์ฟิว คือ จุดที่บังคับใช้กฏหมายอย่างเข้มงวด ตำรวจมีสิทธิ์ในการทำงานอย่างเต็มที่

                                                      (ให้เวลาประชาชนออกจากพื้นที่ก่อนประมาณ 1-2 นาที )

การบังคับใช้คดี

-รถหลุด/รถตำรวจหลุด คือ ประชาชนขโมยรถตำรวจไปได้ แต่การจะขโมยรถตำรวจได้จะต้องมีสตอรี่เท่านั้น เช่น ตำรวจจับโจร ถ้าไม่มีสตอรี่แต่ยังขโมยรถตำรวจไปจะถือว่าผู้นั้นผิดและไม่สามารถต่อรองได้

-คดีสมรู้ร่วมคิด จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีผู้กระทำความผิดมีมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป และผู้กระทำความผิดที่ไม่มีของผิดกฏหมาย ก็จะโดนคดีสมรู้ร่วมคิด คือโดนเท่ากัน เช่น 

ผู้กระทำความผิดใช้มีสองคน แต่พอจับได้แล้วตรวจปรากฏว่า ผู้กระทำความผิด A มีของ แต่ผู้กระทำความผิดB ไม่มีของ แต่ไปด้วยกันหรือช่วยกัน ผู้กระทำความผิด B ก็จะโดนคดีสมรู้ร่วม โทษปรับและจำคุกก็จะเท่ากับผู้กระทำความผิด A

bottom of page